มะเร็งท่อน้ำดี เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งทุกชนิดในประเทศไทย
: 064-4545524  |  Line ID : @823ijfel
สังซื้อพอลลิติน : Line ID : @823ijfel

มะเร็งท่อน้ำดี

โรคมะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma)
คือ ภาวะที่เซลล์ในท่อน้ำดีมีการเปลี่ยนแปลงหรือเจริญเติบโตผิดไปจากปกติ ซึ่งอาจเติบโตเป็นเนื้องอกหรือเนื้อร้าย และทำลายเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ อีกทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ ส่วนใหญ่มักเริ่มเป็นจากเซลล์เยื่อบุผิวของท่อน้ำดี

โรคนี้เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งทุกชนิดในประเทศไทย พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพบในผู้ชาย 135 คนต่อประชากร 100,000 คน และ ในผู้หญิง 48 คนต่อประชากร 100,000 คนซึ่งเป็นอุบัติการณ์ที่สูงที่สุดในโลก ในแต่ละปีมีผู้ป่วยชาวอีสานเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีราวๆ 14,000 คน

สาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดี

เกิดจากเซลล์ของท่อน้ำดีภายในตับหรือนอกตับเติบโตหรือเปลี่ยนแปลงขึ้นจนกลายเป็นเนื้อร้าย แต่ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าสาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดีนั้นเกิดจากอะไร

ในภาคอีสานมีสาเหตุหลักคือ เกิดจากการติดพยาธิใบไม้ตับ ชนิด Opisthorchis viverrini ซึ่งเป็นตัวปรสิตที่พบในปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ด เช่น ปลาตะเพียน ปลาขาว ปลาสร้อย ปลากะสูบ ปลาแม่สะแด้ง ปลาซิว ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา ซึ่งหาได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำไปประกอบอาหารทานแบบสุกๆ ดิบๆ เช่น ทำเป็น ก้อยปลาดิบ ลาบปลาดิบ ปลาส้ม ปลาร้าที่หมักไม่เกิน 1 สัปดาห์ โดยตัวอ่อนของพยาธิสามารถไชเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในท่อน้ำดีและมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 20 ปี และจะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในท่อน้ำดีและเกิดเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในที่สุด ซึ่งเมื่อเกิดการติดเชื้อแล้วจะยังไม่ได้เป็นมะเร็งในทันที แต่กระบวนการก่อมะเร็งที่บริเวณท่อน้ำดีในตับจะใช้เวลาอย่างน้อย 20-30 ปีจึงจะตรวจพบก้อนเนื้อร้ายดังนั้นชาวบ้านจึงมักไม่ตะหนักที่จะเลิกนิสัยการบริโภคปลาดิบ และซ้ำร้ายยังใช้วิธีกินยาถ่ายพยาธิเอา ทำให้มีพฤติกรรมแบบติดพยาธิซ้ำซาก ส่งผลให้เกิดภาวะอักเสบแบบเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี

โรคมะเร็งท่อน้ำดีที่เกิดจาก การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับจึงจัดเป็นมะเร็งกลุ่มที่ป้องกันได้ และรักษาหาย หากแพทย์สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นที่ผู้ป่วยยังไม่ปรากฎอาการแสดงออกจะมีโอกาสหายจากโรคได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการ ตัวเหลือง ตาเหลืองแล้วจึงไปพบแพทย์ทำให้ช้าเกินกว่าจะแก้ไขได้ทันท่วงที

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดี อาจมาจากสารเคมี พฤติกรรม หรือสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย หรือจากการอักเสบระยะยาวจากโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- โรคท่อน้ำดีอักเสบแข็งขั้นปฐมภูมิ
- นิ่วในท่อน้ำดี
- โรคท่อน้ำดีโป่งพอง
- การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิด Ophisthorchis Viverrini
- ความผิดปกติบริเวณท่อน้ำดีและท่อตับอ่อนเชื่อมต่อกัน
- โรคตับแข็ง

และอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่มีความเป็นไปได้เช่น
- โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- โรคอ้วน
- โรคเบาหวาน
- ไวรัสตับอักเสบ
- บุหรี่ และการบริโภคแอลกอฮอล์

หากพบว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งท่อน้ำดี แพทย์จะรักษาดังนี้
1. การผ่าตัด เป็นการกำจัดเนื้อร้ายออกจากร่างกายของผู้ป่วย อาจรวมไปถึงการผ่าตัดเพื่อกำจัดบางส่วนของท่อน้ำดี ตับอ่อนหรือตับ และเนื้อเยื่อรอบ ๆ บริเวณที่ติดเชื้อ บางกรณีหัตถการสำหรับระบายน้ำดี (Stent Insertion) เพื่อช่วยลดอาการต่าง ๆ เช่น ดีซ่าน ปวดท้องและคันผิวหนัง โดยการใส่ท่อระบายน้ำดีไปในท่อน้ำดีเพื่อหยุดการปิดกั้น
2. การทำเคมีบำบัด กรณีที่ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ ผู้ป่วยต้องมีความพร้อมร่างกายที่ดีพอ เพื่อช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งและอาจมีผลข้างเคียงตามมา เช่น ผมร่วง อ่อนเพลีย เป็นต้น
3. การทำรังสีบำบัด เพื่อช่วยชะลอการแพร่กระจายและบรรเทาอาการต่าง ๆ ของมะเร็งท่อน้ำดี อาจส่งผลข้างเคียงให้ผู้ป่วยมีอาการท้องร่วงหรืออ่อนเพลีย

การรักษาแบบบประคับประคอง (Supportive Care)
เป็นอีกการรักษาหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น การรักษาจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายของโรคและปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย ช่วยลดอาการต่าง ๆ เช่น
- อาการปวด สามารถบรรเทาได้โดยใช้ยาลดปวดหรือการฉายรังสีเพื่อลดขนาดก้อนมะเร็ง เป็นต้น
- อาการดีซ่าน อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการคันผิวหนัง บรรเทาได้โดยยาแก้คัน ยาขับน้ำดี การสวมเสื้อหลวม ๆ ใช้สบู่ที่อ่อนโยนต่อผิวและทาครีมที่ทำให้ผิวชุ่มชื่นหลังอาบน้ำ
- เบื่ออาหาร อาจใช้ยาต้านคลื่นไส้อาเจียน กินอาหารจำนวนน้อย ๆ ที่มีแคลอรี่สูง ๆ หรือกินอาหารเสริมก็สามารถช่วยได้
- ท่อน้ำดีอักเสบ ผู้ป่วยอาจมีไข้ หนาวหรือมีสัญญาณการติดเชื้ออื่น ๆ การติดเชื้ออาจรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ
- ฝีในตับ ผู้ป่วยอาจมีไข้ หนาวหรือเป็นดีซ่าน แพทย์อาจต้องระบายหนองและจ่ายยาปฏิชีวนะ

 

การป้องกันมะเร็งท่อน้ำดี

เพราะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสาเหตุคืออะไร การป้องกันที่ดีที่สุดจึงเป็นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังข้างต้น การควบคุมน้ำหนักและดูแลสุขภาพ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ จำกัดปริมาณการรับประทานเนื้อปรุงแต่งและเนื้อสด เลือกบริโภคปลา สัตว์ปีกและถั่ว เน้นอาหารจากพืชและธัญพืชไม่ขัดสี รวมไปถึงการรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 2 ถ้วยครึ่งต่อวัน

วิธีอื่น ๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี
หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
- เลิกบุหรี่หรือไม่สูบบุหรี่
- ระมัดระวังการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสอื่น ๆ ทางเลือดหรือทางเพศสัมพันธ์
- รักษาการติดเชื้อไวรัสตับบีและซีเพื่อป้องกันโรคตับแข็ง
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
- รับประทานอาหารที่ผ่านการปรุงจนสุก

Read 1508 times