มะเร็งปอด รักษามะเร็งปอด , รักษามะเร็งปอดด้วยสารสกัดธรรมชาติ , Lung Cancer , เซอร์นิตินชุดมะเร็งปอด
: 064-4545524  |  Line ID : @823ijfel
สังซื้อพอลลิติน : Line ID : @823ijfel

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด

อาการของมะเร็งปอด

มะเร็งปอดส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรค เมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้น สามารถสังเกตได้จาก

  • ไอเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน 
  • ไอปนเลือด
  • หายใจเหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบากเป็นระยะเวลานาน
  • เจ็บหน้าอก
  • เบื่ออาหาร 
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  • ปวดหรือเจ็บขณะหายใจหรือไอ

นอกจากนี้ยังมีบางอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่พบได้น้อย เช่น หายใจมีเสียงวีด รูปร่างของปลายนิ้วและเล็บเปลี่ยนแปลงไป ไข้ขึ้นสูง กลืนอาหารลำบาก เสียงแหบ ใบหน้าและคอมีอาการบวม 

สาเหตุของมะเร็งปอด

การสูบบุหรี่ ถือเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งชนิดนี้ถึง 85% ของสาเหตุการเกิดทั้งหมด เนื่องจากภายในบุหรี่ประกอบไปด้วยสารพิษที่เป็นอันตราย และยังมีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด ซึ่งสามารถพัฒนาให้เกิดมะเร็งปอด รวมไปถึงมะเร็งชนิดอื่น อย่างมะเร็งในช่องปาก และมะเร็งหลอดอาหารได้ในภายหลัง นอกจากนี้ยาสูบประเภทอื่น เช่น ยานัด ซิการ์ ยาเส้น กัญชาผสมบุหรี่ ก็ยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปอดได้มากขึ้นด้วย

สารก่อมะเร็งเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเนื้อเยื่อภายในปอดได้ทันที ซึ่งปกติร่างกายจะพยายามซ่อมแซมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่หากมีการสูดดมเข้าไปมากขึ้น จะส่งผลให้เกิดความเสียหายกับเซลล์มากขึ้น จนร่างกายซ่อมแซมไม่ทัน กระทั่งเกิดความเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ ที่สามารถกลายเป็นมะเร็งบริเวณปอดได้ 

นอกเหนือจากการสูบบุหรี่ ยังพบว่ามีสาเหตุอื่น ๆ ที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน ได้แก่

  • สูดดมควันบุหรี่จากคนรอบข้าง หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ควันบุหรี่มือสอง ถึงแม้ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่การได้รับควันบุหรี่จากผู้คนรอบข้างที่สูบ ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งปอดได้ไม่แพ้กับการสูบบุหรี่โดยตรง เพราะสามารถรับสารพิษ หรือสารก่อมะเร็ง ได้ด้วยวิธีการเดียวกัน มีผลงานวิจัยพบว่า ผู้ที่อาศัยร่วมกับผู้ที่สูบบุหรี่ มีโอกาสในการเป็นมะเร็งปอดได้ถึง 20-30% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้อยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่
  • ก๊าซเรดอน สารกัมมันตรังสีที่มีอยู่ทั่วไป อาจมาจากดิน หิน หรืออาจพบในอาคารบางแห่ง หากสูดดมเอาก๊าซชนิดเข้าไปมาก ๆ อาจส่งผลให้ปอดได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • สารพิษและมลภาวะ สารเคมีและมลภาวะต่าง ๆ ที่ได้รับในแต่ละวัน ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งปอดได้สูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องประกอบอาชีพ เกี่ยวข้องกับสารเคมีหรืออยู่ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ได้รับสารเหล่านี้เข้าไปเป็นประจำโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างสารเหล่านี้ เช่น สารหนู ถ่านหิน แร่ใยหิน เบริลเลียม แคดเมียม ถ่านโค้ก ซิลิกา นิกเกิล นอกจากนี้ การได้รับเอาควันเสียจากยานพาหนะปริมาณมาก จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงขึ้นเป็น 50% งานวิจัยพบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตที่มีก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ที่ผลิตจากรถยนต์ หรือพาหนะอื่น มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดถึง 3 เท่า
  • ปอดมีการติดเชื้อ เนื้อเยื่อปอดที่มีการติดเชื้อหรือถูกทำลายจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหนังแข็ง (Scleroderma) หรือวัณโรค ที่เสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในเนื้อเยื่อปอด ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งปอด 

มะเร็งปอดสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายกรณี ดังนี้

  • ภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด (Pleural Effusion) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการมีของเหลวหรือน้ำเข้าไปสะสมอยู่ในโพรงเยื่อหุ้มปอดมากผิดปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการหายใจ
  • หายใจสั้น หากก้อนมะเร็งขยายใหญ่ขึ้น จนบดบังทางเดินในระบบทางเดินหายใจ หลักจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านการหายใจ เนื่องจากเกิดการสะสมของของเหลวภายในปอด ทำให้ปอดมีการขยายตัวได้ไม่เต็มที่ เมื่อมีการหายใจเข้า
  • ไอเป็นเลือด (Hemoptysis) มะเร็งปอดสามารถทำให้เกิดอาการ เลือดออกภายในทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการไอเป็นเลือด และอาจส่งผลรุนแรงได้หากมีปริมาณมาก
  • มะเร็งแพร่กระจายไปบริเวณอื่นผู้ป่วยมะเร็งปอดในระยะลุกลาม อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายโรคไปยังบริเวณอวัยวะอื่นในร่างกาย เช่น กระดูก ปอด ตับ

การป้องกันโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอดยังไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้

  • ไม่สูบบุหรี่ หรือ เลิกสูบหรี่ เนื่องจากบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปอด การลด ละ เลิก หรือเลี่ยงการสูบหรี่ รวมไปถึงยาสูบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ยานัด ยาเส้น ซิการ์ ทำให้การได้รับสารพิษหรือสารก่อมะเร็ง ที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายน้อยลง ยิ่งมีการสูบหรี่นานเท่าไหร่ ก็อาจทำให้การเลิกบุหรี่ทำได้ยากมากขึ้นเท่านั้น แพทย์อาจช่วยให้ผู้ป่วยเลิกบุหรี่ได้ด้วยการให้คำแนะนำ การใช้ยาหรือสารทดแทนนิโคติน หรือแม้แต่การเข้ากลุ่มบำบัดช่วยเหลือ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ได้ง่ายขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่ พยายามอยู่ให้ห่างจากกลุ่มหรือบุคคลรอบข้างที่มีการสูบบุหรี่ เพื่อลดโอกาสการสูดดมควันบุหรี่เข้าไปโดยตรง อาจแนะนำให้ผู้สูบบุหรี่สูบในเขตที่มีการอนุญาตให้สูบได้ ไม่เข้าไปอยู่ในร้านอาหารที่มีการสูบบุหรี่ หรือเลือกอยู่ในสถานที่ที่เป็นเขตปลอดบุหรี่แทน
  • เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เลือกอาหารในการรับประทานที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เน้นผักและผลไม้ ซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามิน รวมไปถึงการเลือกรับประทานให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน ในสัดส่วนที่เหมาะสมจากธรรมชาติโดยตรง แทนการได้รับวิตามินและแร่ธาตุจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • ป้องกันตนเองจากมลภาวะหรือควันพิษ หากทราบว่าตนเองต้องอยู่ในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย หรือสารพิษที่อาจเป็นสารก่อมะเร็ง ควรมีการป้องกันการสูดดมสารเหล่านั้นเข้าไปโดยตรง อย่างเช่นการทำงานในสถานที่มีฝุ่นควันมาก ควรมีการสวมหน้ากากป้องกันไว้ตลอดเวลาขณะทำงาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคให้ลดลงได้ ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายอาจจเริ่มจากการออกกำลังกายอย่างช้า ๆ พยายามออกกำลังอย่างสม่ำเสมอในแต่ละสัปดาห์

Additional Info

  • ราคาพิเศษ: Line : @wellbeing789
  • ขนาดบรรจุ: 5 กระปุก
Read 2060 times